กรมการแพทย์แผนไทยฯ ย้ำ ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางรักษา

กรมการแพทย์แผนไทยฯ ย้ำ ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางรักษา

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยด้วยกัญชาทางการแพทย์แผนไทยแบบบูรณาการในระบบสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยบริการปฐมภูมิ 4 แนวทาง คือ

1. แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งและผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliatives care)

2. แนวทางการดูแลกลุ่มผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care)

3. การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันด้วยกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

4. การดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster)

เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีแนวทางการนำกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมาบูรณาการในระบบบริการสุขภาพ และมีการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย และหลักสูตรเพิ่มพูนทักษะการปรุงยาเฉพาะราย ให้กับแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้าน และสหวิชาชีพ แล้ว จำนวน 1,233 คน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้สามารถรักษา ปรุงยาและจ่ายยาที่มีกัญชาปรุงผสม รวมถึงการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยากัญชาในการรักษาโรคได้อย่างมีมาตรฐาน

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์

“การเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์แผนไทย จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการรักษา กรมการแพทย์แผนไทยฯ มีการขยายการผลิตตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมในโรงงานผลิตยา WHO GMP ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัด สธ.ที่มีศักยภาพ จำนวน 6 แห่ง คือ 1.โรงพยาบาล (รพ.) พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร 2. รพร.เด่นชัย จ.แพร่ 3.รพ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ 4.รพ.ดอนตูม จ.นครปฐม 5.รพ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี 6.รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี เพื่อรองรับและกระจายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการใช้ในการจัดบริการ” นพ.ธงชัย กล่าว

อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า นอกจากการขยายการผลิตตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมให้ได้มาตรฐาน เพื่อส่งไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ และประชาชนสามารถได้ประโยชน์ทางการรักษาแล้ว ความรู้ของประชาชนก็เป็นสิ่งสำคัญที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้มีการสื่อสารและสร้างความรอบรู้ การใช้ประโยชน์จากกัญชา กระท่อมทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ จำนวน 10 เรื่อง คือ

1.ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน

2.การใช้กัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย

3.ยันต์กันเมา

4.อาการเมากัญชาและวิธีแก้

5. กว่าจะเป็นกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

6.แนวทางการจ่ายค่าชดเชยการใช้น้ำมันกัญชาในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2565 (ภายใต้โครงการบัญชี 3)

7.ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ จากส่วนที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษประเภท 5

8.เมนูอาหารพื้นบ้านที่มีกัญชา (เมนูแกงกะทิขนุนปลาย่าง)

9.เมนูอาหารพื้นบ้านที่มีกัญชา (เมนูต้มเป็ดชะวา)

10.องค์ความรู้การปรุงยาเพื่อการดูแลสุขภาพ

“ทั้งนี้ ประชาชนหรือสื่อมวลชนสามารถติดตามข้อมูลกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ได้ทางเว็บไซต์ของกรมการแพทย์แผนไทยฯ หรือ https://ockt.dtam.moph.go.th/index.php/e-book/67-e-book/cannabis/263-cannabis หรือสอบถามกัญชาทางการแพทย์แผนไทยได้ที่ คลิกนิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยฯ เวลา 08.30-16.30 น. โทร.0 2590 2606 /0 2591 1964 Line @204snkkn” นพ.ธงชัย กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ desmoines-lawyer.com

UFA Slot

Releated